กราฟแสง ของ มหานวดาราประเภท 1เอ

กราฟความสว่าง (เทียบกับดวงอาทิตย์, L0) ต่อเวลาซึ่งแสดงถึงลักษณะพิเศษของกราฟแสงของมหานวดาราประเภท 1เอ กราฟที่จุดสูงสุดเป็นการสลายตัวของนิกเกิล ในขณะที่ช่วงหลังใช้โคบอลต์เป็นแหล่งพลังงาน

มหานวดาราประเภท 1เอ มีกราฟแสง (กราฟของความสว่างเทียบกับเวลาหลังจากการระเบิด) ที่มีลักษณะพิเศษ เมื่อใกล้ช่วงเวลาที่มีความสว่างมากที่สุด สเปกตรัมจะประกอบด้วยเส้นของธาตุมวลปานกลางตั้งแต่ออกซิเจนถึงแคลเซียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของพื้นผิวชั้นนอกของดาวฤกษ์ หลายเดือนหลังจากการระเบิด เมื่อพื้นผิวชั้นนอกขยายตัวไปจนถึงจุดโปร่งแสง สเปกตรัมจะถูกกลบโดยแสงที่ปลดปล่อยมาจากแหล่งกำเนิดใกล้กับแกนของดาว ธาตุหนักจะถูกสังเคราะห์ขึ้นระหว่างการระเบิด ไอโซโทปที่สำคัญส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับเหล็ก (หรือธาตุไอร์ออนพีก) การสลายตัวของสารกัมมันตรังสี นิกเกิล-56 ตลอดจนถึงโคบอลต์-56 และเหล็ก-56 ผลิตโปรตอนพลังงานสูงซึ่งกลืนกินปริมาณพลังงานที่ผลิตได้ของสสารแตกกระจายที่ช่วงกลางถึงช่วงปลาย[12]

ความคล้ายคลึงกันของความสว่างสัมบูรณ์ของมหานวดาราประเภท 1เอ เกือบทั้งหมดที่รู้จักได้นำไปสู่การใช้เป็นเทียนมาตรฐานลำดับรองในการศึกษาดาราศาสตร์ระหว่างดาราจักร[29]ในดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ[30] เหตุที่กราฟความสว่างเหล่านี้สอดคล้องกันยังคงเป็นปริศนา ในปี ค.ศ. 1998 การสังเกตมหานวดาราประเภท 1เอ ที่อยู่ห่างไกลบ่งชี้ถึงผลที่ไม่คาดฝันว่าเอกภพดูเหมือนจะขยายตัวด้วยความเร่ง[31][32][33][34]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหานวดาราประเภท 1เอ http://cosmos.swin.edu.au/entries/typeiasupernovap... http://cosmos.swin.edu.au/entries/typeibsupernovas... http://space.newscientist.com/article/dn10114 http://space.newscientist.com/article/dn10883-brig... http://www.spaceflightnow.com/news/n0308/06superno... http://adsabs.harvard.edu/abs/1939PNAS...25..118W http://adsabs.harvard.edu/abs/1976IAUS...73...75P http://adsabs.harvard.edu/abs/1979ApJ...232..404C http://adsabs.harvard.edu/abs/1987ApJ...323..140L http://adsabs.harvard.edu/abs/1992AJ....103.1788V